ห้องรับแขก

- การออกแบบห้องรับแขก
ห้องรับแขกจะเป็นห้องแรกที่เข้ามาถึง ควรมีขนาด 12 ตารางเมตรขึ้นไป แล้วแต่ขนาดของบ้าน ควรมีลักษณะ โล่ง ไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์กีดขวางทางเข้า และไม่ควรหัน หลังเก้าอี้ให้กับประตู
ประตูหน้าต่างในส่วนนี้ควรเปิดโล่ง เพื่อความโอ่ โถงและสามารถชมทิวทัศน์ภายนอกได้ เพื่อความงามและ เป็นจุดเด่นของตัวบ้าน
ในส่วนนี้อาจมีตู้โชว์ของเจ้าบ้านหรือตู้วางทีวี และ เครื่องเสียงก็ได้
การจัดชุดรับแขกจะวางเป็นรูปตัวยูหรือตัวแอลก็ได้แล้วแต่ขนาดของห้องให้มีที่นั่งประมาณ 4-8 ที่
แสงสว่างมักจะให้จากไฟเพดาน โดยเป็นโคมไฟ ห้อย หรือซ่อนตามกล่องไฟรอบเพดาน อาจจะเป็นไฟกิ่ง บริเวณผนัง สำหรับส่องภาพ หรือสิ่งที่ต้องการเน้นเป็น พิเศษก็ได้
สำหรับบ้านขนาดใหญ่ ห้องรับแขกควรอยู่ติดกับ ห้องพักผ่อน และห้องรับประทานอาหาร












ห้องนอน
- การออกแบบห้องนอน
ห้องนอนที่ดีควรอยู่ทางทิศตะวันออก และทางทิศ ใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในตอนบ่ายของทิศตะวัน ตก และสามารถรับลมธรรมชาติได้ การจัดพื้นที่ใช้สอยแบ่ง ออกได้ 2 ส่วน คือ
ส่วนแรก เพื่อการใช้งานส่วนตัว เช่น ผลัดเปลี่ยน เสื้อผ้า แต่งตัวทำงาน ส่วนเหล่านี้ควรอยู่ใกล้กับทางเข้า หรือ ใกล้กับห้องน้ำ
ส่วนที่สอง สำหรับนอนหลับพักผ่อน ซึ่งการจัดวาง เตียงนอนไม่ควรให้หัวเตียง หรือปลายเตียงอยู่ใกล้หน่าต่าง มากเกินไป เพราะลมที่พัดโดนศีรษะผู้นอนอาจรู้สึกไม่สบาย หรือถ้าติดแอร์ก็ไม่ควรวางปลายเตียงหันหน้าไปทางเครื่องปรับ อากาศ เพราะลมจะพัดเข้าจมูกเวลานอน อาจจะเป็นหวัดได้ ที่สำคัญควรคำนึงถึงขนาดของเฟอร์นิเจอร์ให้สัมพันธ์กับขนาด ของห้องด้วยตามสัดส่วนที่เหมาะสมด้วย


- ผ้าม่านในห้องนอน
ม่านเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความเป็นส่วนตัวภายในห้อง นอน ตามหลักที่ถูกต้องควรจะมีม่าน 2 ชั้น
โดยให้ม่านชั้นในเป็นม่านโปร่ง เอาไว้บังแสงแดด เวลาเช้า จะช่วยกรองความร้อนบางส่วน และยังมีแสงสว่าง เข้ามาในตัวห้องได้ ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟ
ส่วนม่านชั้นนอกควรจะเป็นม่านทึบ เพื่อไม่ให้คน ภายนอกมองเข้ามาภายในห้องได้
ในกรณีที่ต้องการประหยัด ก็สามารถใช้เฉพาะม่าน ทึบก็ได้ แต่การใช้ม่านภายในห้องนอนควรจะใช้สีอ่อน เพื่อ ให้ดูโปร่งและไม่อึดอัดจนเกินไป


- การให้แสงสว่างในห้องนอน
การให้แสงสว่างภายในห้องนอน ต้องดูจากพื้นที่จริง ด้วยว่า พื้นที่ภายในห้องนั้นมีขนาดเท่าไหร่ เพราะภายในห้อง นอนไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก ส่วนมากจะใช้เฉพาะ จุดที่ต้องการเท่านั้น บริเวณหัวเตียง ซึ่งอาจจะหาโคมไฟมา วาง เพื่อช่วยให้แสงเวลาอ่านหนังสือก่อนนอนก็ได้ อีกจุดก็ บริเวณกระจกแต่งตัว ซึ่งการใช้ไฟเพียงเท่านี้ก็นับว่าเพียงพอ สำหรับห้องนอนแล้ว


- การตกแต่งห้องนอนลูก
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม กับลูก สัดส่วนของสรีระเด็กจะไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้ใหญ่จะมาใช้งานกับเด็กไม่ได้ เพราะจะ ไม่สัมพันธ์กับสรีระของเขา อีกประการหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ต้องลดความแหลมคมด้วยเพื่อลดแรงกระแทก ประกอบกับ การนำสีสันมาใช้บ้างเป็นจุด เพื่อให้ลูกน้อยเกิดความตื่นเต้น ร่าเริง และต้องการเรียนรู้ ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเหมือนกับห้อง นอนผู้ใหญ่










ห้องครัว


- การออกแบบห้องครัว
การออกแบบห้องครัว แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
แบบติดตั้งกับผนังด้านเดียว เหมาะสำหรับห้องที่มี เนื้อที่น้อย
แบบผนังสองด้าน มีทางเดินตรงกลาง มีลักษณะ คล้ายแบบแรก แต่เพิ่มเนื้อที่อีก 1 ด้าน
แบบตัวแอล ลักษณะนี้เป็นที่นิยมกันมาก แต่ต้องมี พื้นที่มากกว่า 2 แบบแรก
แบบตัวยู เป็นแบบที่ดีที่สุด ใช้พื้นที่ได้มาก แต่ต้อง มีห้องกว้างพอสมควร เพราะต้องใช้ผนังถึง 3 ด้าน
ห้องครัวที่ดีควรลดระดับต่ำกว่าส่วนอื่นของบ้านประ มาณ 10 ซม. เพื่อเวลาทำความสะอาดพื้นหรือล้างพื้นห้อง น้ำจะได้ไม่ไหลเปรอะเปื้อนห้องอื่น และที่สำคัญอีกอย่างคือ ควรให้พื้นมีความลาดเอียงเล็กน้อยสำหรับการไหลของน้ำลง ท่อระบายน้ำที่เตรียมไว้ พื้นห้องครัวควรปูด้วยวัสดุที่ทำความ สะอาดง่าย เช่น กระเบื้องเซรามิค หรือหินแกรนิต สำหรับ ผนังบางส่วนอาจบุกระเบื้องชนิดบุผนัง เนื่องจากมีผิวมันลื่น เช็ดถูทำความสะอาดได้ง่าย
ส่วนผนังที่เหลือก็ควรทาสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิคกึ่ง เงาแทนการใช้สีน้ำพลาสติคสำหรับทาภายในทั่วไป เนื่อง จากจะคงทนกว่า และทำความสะอาดคราบเขม่า คราบควัน ที่เกิดจากการหุงต้มอาหารได้ดีกว่าสีน้ำมันทั่วไป
วิธีการวางเครื่องใช้ของครัวก็คือ วางตามวิธีการทำ อาหารทั่วไป เช่น ก่อนอื่นต้องนำอาหารที่จะทำออกจากตู้ เย็นมาพักไว้ที่เคาน์เตอร์ก่อน หลังจากจัดเตรียมเครื่องปรุง ส่วนผสมเรียบร้อยแล้ว ก็ปรุงอาหารด้วยเตาไฟหรือเตาอบ อาหารที่ปรุงเสร็จก็มาวางไว้ที่เคาน์เตอร์ เพื่อเสิร์ฟต่อไปอีก ทีหนึ่ง ส่วนที่อยู่ถัดมาก็คือ อ่างล้างจาน เพื่อรับจานและ ช้อนที่ใช้แล้ว ถ้าเราจัดทุกอย่างให้ถูกต้องตามลำดับขั้น ก็ จะทำให้การปรุงอาหารสะดวกและรวดเร็ว
















ห้องน้ำ
- การออกแบบห้องน้ำ
ภายในห้องน้ำควรประกอบด้วย อ่างล้างหน้า อาจ จะมีเคาน์เตอร์ด้วยก็ได้ ชักโครก โถปัสสาวะชาย ที่อาบน้ำ หรือถ้ามีพื้นที่มากพออาจใส่อ่างอาบน้ำเข้าไปก็ได้ การใช้งาน แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมที่ขาดเสียไม่ได้ภายในห้องน้ำ ควรมีพัดลมระบายอากาศหรือช่องลมก็ได้ หากไม่มีจะทำให้ ห้องน้ำอับชื้นและเกิดกลิ่นเหม็นได้
ห้องน้ำควรจัดตกแต่งให้สะอาด ไม่อึดอัด ควรแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเปียก และส่วนแห้ง
ส่วนเปียก จะใช้ในการอาบน้ำ อาจจะเป็นอ่างหรือ ฝักบัวก็ได้ ควรมีการป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นมาสู่ส่วนแห้ง
ส่วนแห้งก็คือ ส่วนอ่างล้างหน้า โถปัสสาวะ ชักโครก ส่วนนี้สามารถใช้พรมแผ่นมาวางได้ แต่การใช้งานต้องระวัง ให้แห้งจริงๆ
นอกจากนี้ยังต้องมีเฟอร์นิเจอร์ส่วนประกอบต่างๆ อีก เช่น กระจกส่องหน้า ที่ใส่ทิชชู ที่ใส่สบู่ ที่แขวนผ้าเช็ด หน้า เป็นต้น
ถ้าเฟอร์นิเจอร์พวกนี้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมจะ ใช้งานไม่สะดวก ควรออกแบบไว้ล่วงหน้าเลยจะดีกว่า เพราะ ถ้ามีปัญหาจะแก้ไขยาก เช่น
ตำแหน่งของกระจกส่องหน้าสูงเกินไป
ที่แขวนผ้าเช็ดหน้า และที่ใส่ทิชชูใกล้อ่างล้างหน้าจน เกินไป ทำให้เปียกได้
ที่แขวนผ้าเช็ดตัวอยู่ไกลจากส่วนอาบน้ำ
สายชำระอยู่ซ้ายมือ ใช้งานไม่สะดวก
ม่านกันน้ำ เลื่อนไปแล้วติดสุขภัณฑ์
ที่วางสบู่ โดนน้ำจากฝักบัว ทั้งหมดนี้ควรหลีกเลี่ยงให้ได้

















ข้อมูลจาก interhomeproperty.com