1. บริเวณหน้าบ้านควรจัดเป็นสวนประดับที่มีสนามหญ้า พรรณไม้หรืออาจใช้หินประดับ มีลำธาร น้ำพุ น้ำตก ไฟประดับ ฯลฯ ประกอบอยู่ด้วย
      2. บริเวณด้านข้างตัวบ้าน ควรพิจารณาปลูกพรรณไม้ประดับที่ให้ร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด หรือพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอม
      3. บริเวณหลังบ้าน ถ้ามีบริเวณกว้างพออาจออกแบบ ทำบ่อ ลำธาร น้ำตกสระว่ายน้ำ ส นามกีฬา กรงเลี้ยงสัตว์ หลุมขยะ ราวตากผ้า แปลงปลูกผักสวนครัวไม้ผลหรือไม้ประดับยืนต้น
 

      ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการจัดสวนบ้าน
      1. การเลือกพรรณไม้ ควรพิจารณาดังนี้
            1.1 เจริญเติบโตได้ดี ไม่มีโรคแมลงรบกวนหรือมีโรคแมลงกวนน้อย เช่นเข็มชนิดต่างๆ ไม้ดัด-ไม้แคระ ปาล์มชนิดต่างๆ
            1.2 มีกลิ่นหอม เช่น พุด ราตรี จำปี จำปา กระดังงา การะเวก นางแย้ม แก้ว โมก
            1.3 ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม แต่ในขณะเดียวกันก็อาจตัดใบ หรือ ดอกไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีกด้วย เช่น ปริก หมากเหลือง ปรงเตยหอม
            1.4 ไม่เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ พรรณไม้ที่เป็นพิษ หรือ มีอันตราย เช่น อากาว่า เข็มกุดั่น ลำโพง ฝิ่น ฯลฯ

      2. การปรับแต่งพื้นที่ ควรคำนึงถึงการระบายน้ำ กล่าวคือ ต้องปรับพื้นที่ให้น้ำระบายลงสู่ท่อระบายน้ำให้หมด อย่าให้น้ำไหลเข้าบ้าน หรือมีน้ำขังอยู่ในพื้นที่สวน

      3. สัตว์เลี้ยง ประเภทสุนัขและไก่ มักขุดคุ้ยหรือนอนทับต้นไม้ ทำให้เสียหาย จึงไม่ควรเลี้ยงสัตว์ หากเลี้ยงต้องทำกรงขัง หรือจำกัดขอบเขตให้อยู่เฉพาะที่

      4. หากตัวบ้านอยู่สูงกว่าพื้นที่ถนนภายในบ้าน ควรแต่งเนินเดินให้สูงกว่าถนน (ใช้ผิวถนนเป็นที่ระบายน้ำ) จะทำให้สวนประดับและบ้านดูเด่นสวยงาม

      5. ไม่ควรฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช บ่อยจนเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย ฉะนั้นจึงควรเลือก ปลูกเฉพาะพรรณไม้ที่ไม่มีศัตรูรบกวน

การตัดแต่งเพื่อบังคับทรงพุ่มทำได้ 2 ลักษณะ
     1. ตัดแต่งให้กิ่งใบมีลักษณะเรียบและโค้งมนทำได้ 2 ลักษณะดังนี้
          1.1 รูปทรงกลม คล้ายลูกซาลาเปา
          1.2 รูปทรงอิสระมีส่วนเว้าโค้ง

     2. ตัดซอยกิ่ง การตัดแบบนี้ จะไม่ตัดหมดทุกกิ่งจะเลือกตัดเฉพาะกิ่งที่สูงๆ หรือ ยาวออก เพื่อควบคุมความสูงของพุ่มไม้ไม่ให้สูงจนเกินไป นิยมทำกับพรรณไม้ต่อไปนี้ เช่น โกสน เล็บครุฑ ฉัตรแก้ว ฉัตรนาค อ้อลาย อ้อเขียว พืชตระกูลซอง ฯลฯ

          2.1 ไม้ดอก ไม้ดอกที่ปลูกประดับสวนมีหลายชนิด มีอายุการเจริญเติบโตและการออกดอกแตกต่างกัน มีวิธีการตัดแต่งได้ 2 ลักษณะดังนี้
               2.1.1 ตัดกิ่งที่ดอกบานเต็มที่หรือกำลังจะร่วงโรยออก ให้เหลือแต่ตอ แล้วรอให้ตอเจริญเติบโตกิ่งก้าน ออกดอกใหม่หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ใช้กับพรรณไม้ต่อไปนี้เช่น กุหลาบวาเลนไทน์ เวิอร์บีน่า ผกากรอง บานเช้า ฯลฯ
               2.1.2 ตัดซอยกิ่งโดยเลือกตัดเฉพาะกิ่งที่สูง หรือยาวกว่ากิ่งอื่นๆ หรือกิ่งที่ดอกบานเต็มที่ หรือดอกร่วงโรยไปแล้ว วิธีนี้กิ่งที่สั้นหรือต่ำกว่าจะไม่ถูกตัด และ จะเป็นกิ่งที่เจริญเติบโตออกดอกทดแทนกิ่งที่ถูกตัดออกไป จึงทำให้พืชออกดอกไม้ตลอดปีหรือเกือบตลอดปี เช่น เฟื่องฟ้า กุหลาบ เข็มปัตเวีย ชบาฮาวาย เข็มเศรษฐี เข็มมาเลเซีย ฯลฯ 

2.2 ไม้ดัด การตัดแต่งไม้ดัดทำได้ดังนี้
               2.2.1 แบบเป็นพุ่มลดระดับ การตัดแต่งควรตัดแต่งให้แต่ละพุ่ม มีขนาดและระดับของพุ่มแตกต่างกัน ลักษณะของพุ่มควรเป็นรูปฝาชี จะมีความสวยงามกว่ารูปวงกลม ไม้ดัดแบบนี้บางชนิดต้องใช้วิธีการดัดกิ่งดัดต้นช่วยด้วย เพื่อให้ดูอ่อนช้อยสวยงาม
               2.2.2 แบบซุ้มประตูต่อเนื่อง การทำไม้ดัดแบบนี้ควรมีโครงเหล็กเส้นดัดให้มีลักษณะโค้งเป็นแกนไว้ก่อน แล้วปลูกพรรณไม้ (อาจใช้ไทรอังกฤษ) ปลูกที่โคนของโครงเหล็ก คอยดูแลตัดแต่งกิ่งบังคับให้ต้นไม้เจริญเติบโตไปตามโครงเหล็กใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ก็จะได้ซุ้มประตูต้นไม้ตามที่ต้องการ