ประวัติ 
หางนกยูงมีชื่อวิทยา ศาสตร์ ว่า Delonix regia(Bojer) Raf. อยู่ ในวงศ์ Caesalpinioideae เช่นเดียวกับ นนทรี ต้นขี้เหล็ก ประดู่แดง ชงโค คูน กาหลงกัลปพฤกษ์ และจามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกเพื่อความสวยงามโดยปัจจุบันมีต้นหางนกยูงสอง ชนิดคือหางนกยูงฝรั่ง และหางนกยูงไทยที่มีเป็นไม้พุ่มและดอกสีสดใสหลากสี
 
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางต้นโต เต็มที่สูงราว 12- 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม แผ่กิ่งก้านออกคล้ายจามจุรี แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม
 
โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียง เวียนสลับและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกันขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว
 
ผิวใบเกลี้ยง เป็นพืชผลัดใบ ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน ออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้นเหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ ช่อดอกออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบและเกสรตัวผู้ยาวงอนออกมาเหนือกลีบดอก กลีบดอกหางนกยูงความจริงประกอบด้วยสี 2สี คือสีแดงและ สีเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะมี 2 สีนี้อยู่ด้วยกันจึงเห็นเป็นสีแสด ดอกใดที่สีเหลืองมากกว่าก็เป็นสีแสดออกเหลืองดอกใดสีแดงมากกว่าก็เป็นสีแสด ออกแดง แต่ก็มีหางนกยูงบางต้นออกดอกสีแดงแท้ๆและบางต้นออกดอกสีเหลืองบริสุทธิ์ซึ่ง หาได้ยาก โดยทั่วไปจึงพบแต่หางนกยูงฝรั่งสีแสดทั้งนี้ผลของหางนกยูงฝรั่งเป็นฝักแบน โค้งรูปดาบ และเมล็ดเรียงตามขวาง 
 
สรรพคุณทางยา 
รากนำมาต้มหรือทอดรับประทาน กับอาหาร เป็นยาขับโลหิตในสตรีแก้อาการบวมต่างๆ ลำต้นนำมาฝนทาแก้พิษ ถอนพิษสัตว์ต่อยกัดได้เมล็ดอ่อนของหางนกยูงฝรั่งนำมากินสดๆได้ สำหรับเมล็ดแก่ต้องนำมาทำให้สุกเสียก่อนจึงจะใช้กินได้เพราะมีสารประกอบบาง ชนิดที่เป็นพิษ แต่จะถูกทำลายด้วยความร้อน
 
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE/ CASALPI-NIACEAE 
 
ชื่อสามัญ: Barbados Pride, peacock Flower 
 
ชื่อท้องถิ่น: ส้มพอ พญาไม้ผุ  
 
ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่ม 
 
ลักษณะ:  การเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีลำต้นขนาดเล็ก และแตกกิ่งก้านสาขามาก  เรือนยอดจะโปร่งกิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่เป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่หรือเปลือกของต้นจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม  ลำต้นสูงประมาณ 3-4เมตร เป็นไม้ใบรวมออกใบเป็นแผงซึ่งแผงๆหนึ่งมีใบย่อยอยู่หลายคู่ แต่ละคู่จะตรงข้ามกัน  และใบย่อยตรงส่วนปลายจะไม่มีคู่ ลักษณะใบย่อยจะกลมมน  ปลายใบมนแต่โคนใบแหลมออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ตามก้านใบ ก้านใบก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ราวๆ 8-12 คู่  ขนาดของใบย่อยกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว มีสีเขียว  ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือส่วนยออดของต้น  ช่อดอกจะยาวเกือบ 1 ฟุตได้  ดอกของหางนกยูงมีอยู่หลายสีเช่น  แดง เหลือง ชมพู  ส้ม  มีอยู่5กลีบ ดอกบานเต็มที่ราวๆ 1-1.5  นิ้ว ขอบของกลีบจะยับย่นเป็นเส้นลอนสีเหลือง   เกสรอยู่กลางดอกเป็นเส้นงอนยาวโผล่พ้นเหนือดอกออกมา   ลักษณะของผลเป็นฝักแบน  และมีเมล็ดอยู่ภายในมาก  เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่ายและขึ้นง่าย  ปลูกได้ในดิน ทุกชนิดและยังทนทานอีกด้วย  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง 
 
ประโยชน์: ราก ของต้นดอกสีแดงปรุงเป็นยา รับประทานขับประจำเดือน 
 
การขยายพันธ์: การเพาะเมล็ด