-จัดเสื้อผ้าแยกกลุ่ม แยกประเภท เช่น กางเกงขายาว, กางเกงขาสั้น, เสื้อแขนยาว, เสื้อแขนสั้น, กระโปรง
-จัดเก็บโดยแขวนตามเฉดสี แยกสีพื้นและลวดลาย ไล่น้ำหนักจากอ่อนไปเข้ม

-เสื้อยืด ชุดนอน ควรพับเก็บ จะประหยัดเนื้อที่แขวน

-เสื้อผ้าน้ำหนักมากแขวนราวล่าง เสื้อน้ำหนักเบาแขวนราวบน

-เสื้อผ้ามีน้ำหนัก เช่น สูท ให้จัดเก็บกับไม้แขวนแบบหนา เพื่อรักษารูปทรง

-ของ ใช้ชิ้นเล็ก เช่น เนคไท ผ้าพันคอ ถุงเท้า หรือเข็มขัด ให้เก็บไว้ในกล่องหรือตะกร้า ถ้าเป็นกล่องที่แบ่งช่องเล็กๆ เก็บเป็นชิ้นๆ ก็จะหยิบใช้งานง่าย

-ช่อง เปิดด้านบนสุดของตู้ ให้เก็บของชิ้นใหญ่ ที่หยิบง่าย ไม่ใช้บ่อย เช่น ผ้าปู ปลอกหมอน หมอน หรือกระเป๋า ส่วนล่างสุดเก็บรองเท้าที่ทำความสะอาดดีแล้ว

-ตะกร้าในตู้ ให้เก็บชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าใช้แล้วที่รอการซัก
-ติดดวงไฟในตู้เพื่อสำรวจหาเสื้อผ้าได้สะดวก กรณีเป็นไฟแบบเปิดปิดพร้อมการเปิดตู้ก็จะช่วย
ประหยัดไฟ แต่ต้องมั่นใจว่าปิดหน้าตู้สนิท และไฟดับแล้ว เพราะไฟที่เปิดตลอดเวลาอาจร้อนจนลุกไหม้


-พยายามหมั่นสำรวจตู้เสื้อผ้าทุกหกเดือน รื้อสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ไปบริจาค และจัดเก็บแต่ละส่วนให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ

-ปิดตู้ทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อกันฝุ่นและแสงแดดทำลายผ้า และควรดูดฝุ่นในตู้และบนชั้น เดือนละ 1-2 ครั้ง

-ใส่อุปกรณ์ดักจับความชื้นในตู้ และเพิ่มเครื่องหอมเช่น การบูร บุหงารำไป แก้ปัญหากลิ่นอับและเพิ่มความหอมให้เสื้อผ้า

และนี่คือตัวอย่างที่จะมาระเบิดไอเดียการจัดการตู้เสื้อผ้าของคุณ