ดังรูป ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนอันมหาศาล เมื่อพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ถูกปลดปล่อยและเดินทางมาสู่โลก รังสีบางส่วน คือ รังสีเอ็กซ์ , รังสีแกมมา และรังสีคอสมิก จะถูกดูดกลืนเอาไว้โดยชั้นบรรยากาศของโลก เข้ามาได้ คือ รังสี UV, แสง VIS และรังสี INFRARED ซึ่งทั้ง 3 ส่วน คือ สเปคตรัมของแสงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามาสู่โลก ซึ่งเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความร้อน และทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของวัสดุ จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ นั่นเอง

สเปคตรัมของแสงอาทิตย์ ( Solar Light )
จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า แสงอาทิตย์ มีสเปคตรัมของแสง หรือรังสีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันที่สามารถผ่านเข้ามา สู่โลกได้ ซึ่งแสงและรังสีทั้ง 3 ส่วน ดังกล่าวก็จะมีคุณสมบัติซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับวัสดุที่แตกต่างกัน ดังนี้

รังสี UV ( Ultraviolet ; รังสีอัลตราไวโอเลต )
รังสี UV คือ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นรังสีที่มีอยู่ในแสงอาทิตย์ ( Solar Light )โดยมีลักษณะเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสเปคตรัมของแสงอาทิตย์ ( Solar spectrum ) มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 300 nm. - 400 nm. (1 nm. = 1x 10 - 9 m.) รังสี UV หรือแสง UV ตกกระทบถูกพื้น ผิวของวัสดุใด ๆ จะไม่ก่อให้เกิดความร้อน แต่จะทำให้วัตถุนั้นเกิดการเสื่อมสลาย หรือถูกกัดกร่อนจาก รังสี UV

แสง VIS (Visual Light ; แสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า)
แสง VIS คือ แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นแสงที่มีอยู่ในสเปคตรัมของแสงอาทิตย์เช่นกัน มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 410 nm. - 722 nm. โดยเมื่อแสง VIS นี้ตกกระทบกับพื้นผิวของวัตถุใดๆ แสง VIS นี้ก็จะเปลี่ยนจากพลังงาน ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปเป็นพลังงานความร้อน พลังงานความร้อนดังกล่าวนี้จะทำให้วัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น

รังสี IR ( Infra Red ; รังสีอินฟราเรด )
รังสี NIR คือ รังสีอินฟราเรด เป็นรังสีที่มีอยู่ใน สเปคตรัมของแสงอาทิตย์เช่นกัน โดยมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 724 nm. - 2500 nm. รังสีอินฟราเรดเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นเดียวกันกับรังสี UV และเมื่อรังสีอินฟราเรดนี้ตกกระทบกับพื้นผิวของวัตถุใด ๆ รังสีดังกล่าวก็จะ เปลี่ยนจากพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน พลังงานความร้อนดังกล่าวนี้ จะทำให้วัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างมาก

  การถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคา และผนังอาคาร
เมื่อหลังคาหรือผนังของอาคาร ได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ก็จะดูดกลืนพลังงานของแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนสภาพเป็นพลังงานความร้อนทำให้พื้นผิวภายนอกของหลังคาหรือผนังอาคารมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก และเมื่อพื้นผิวภายนอกมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะเกิดผลต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นผิวภายนอก และภายในของหลังคาหรือผนังอาคาร ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อน ( Heat Transfer) ในลักษณะของการนำความร้อน (Heat conduction) ขึ้นระหว่าง พื้นผิวทั้งสอง เป็นผลให้ตัวอาคารร้อนขึ้นและเกิดอุปสรรคต่อระบบของการปรับอากาศในส่วนของพลังงานไฟฟ้าในการรักษาอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศ
ด้วย เป็นต้น

ดังรูป
เมื่อมีการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์มากระทบกับพื้นผิวภายนอกของหลังคาและ ผนังอาคาร ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาและผนังเข้าสู่ตัวอาคาร ทำให้ตัวอาคารมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภายในอาคารจึงรู้สึกว่า " ร้อนขึ้น "
วิธีป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร
การป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านเข้ามาสู่ตัวอาคาร เป็นการป้องกันไม่ให้พลังงานจากการแผ่ รังสีของดวงอาทิตย์กระทบกับพื้นผิวของหลังคาหรือผนังอาคาร หรือให้กระทบน้อยที่สุดอาจ ทำได้หลายวิธี คือ

การออกแบบอาคาร เป็นการป้องกันความร้อนโดยใช้ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมในการออกแบบอาคารหรือการจัดวางตัวอาคาร เพื่อให้สามารถลดปริมาณความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคารให้น้อย ลงหรือให้มีพื้นที่ที่รับความร้อนน้อยที่สุด เช่น จัดให้มีช่องเปิดของผนังอาคาร น้อยที่สุดใน ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ออกแบบให้ด้านที่แคบของตัวอาคารหัน เข้าทิศตะวัน ออก หรือทิศตะวันตก เป็นต้น
หมายเหตุ วิธีดังกล่าวนี้อาจจะไช้ได้ กับอาคาร หรือโรงงาน ที่จะก่อสร้างใหม่และต้องคำนึง ถึงพื้นที่ใช้สอย และผังของอาคารหรือโรงงานด้วย

การใช้ร่มเงาบังแสงอาทิตย์ เป็นการป้องกันความร้อนโดยใช้วัสดุหรืออุปกรณ์มาเป็นตัวกั้นหรือบังแสงอาทิตย์ไม่ให้ มากระทบตัวอาคารโดยตรง เช่น ใช้วิธีการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่ม เงาบดบังตัว อาคาร การใช้แผงปีก ( FIN) เป็นตัวกั้นหรือบดบังแสงอาทิตย์ เป็นต้น
หมายเหตุ วิธีนี้มักใช้กับอาคารหรือโรงงานเก่า โดยการติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าวไว้ ภายนอกบริเวณรอบ ๆ อาคาร ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ จะต้องคำนึงถึงรูปร่างหรือรูปทรงของ อาคารที่เปลี่ยนไปด้วย

ใช้ฉนวนป้องกันความร้อนเคลือบที่ผิวด้านนอกของอาคาร เป็นการป้องกันความร้อนโดยการใช้
ฉนวนกันความร้อนชนิดสะท้อนรังสีความร้อน ( Ceramic Coating Insulation )
เคลือบหรือทาไว้ที่ผิวด้านนอกของอาคารหรือโรงงานบริเวณหลังคาหรือผนังอาคาร โดยฉนวนประเภทนี้ เมื่อได้รับรังสีความร้อนจากการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์ ก็จะทำหน้าที่ในการสะท้อนรังสีดังกล่าวออกไป (มากกว่า 85% ) คงเหลือความร้อนเพียงบางส่วน ทำให้ผิวของหลังคาหรือผนังอาคารมีอุณหภูมิที่ต่ำลงมาก ปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทจากผิวด้านนอกของอาคารไปยังผิวด้านในของอาคารก็จะมีปริมาณน้อยลง ทำให้ภายในตัวอาคาร " เย็นขึ้น "
หมายเหตุ วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร ช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย จากการใช้เครื่องปรับอากาศ

สีฉนวนกันความร้อนทำงานได้อย่างไร ?
หลักการของฉนวนกันความร้อน Thermo-Shield แตกต่างจากวิธีการทำงานของฉนวนกันความร้อนประเภทอื่นๆ โดยมีคุณสมบัติพิเศษ ทางกายภาพ 2 ประการ ดังนี้

1. Thermo-Shield มีคุณสมบัติที่สามารถ
ป้องกันความร้อนได้ดี โดยอนุภาคเซรามิกส์ที่ประกอบอยู่ในสี Thermo-Shield ซึ่งมีลักษณะคล้ายผลึกแก้ว แต่มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า ซึ่งอนุภาคดังกล่าวเมื่อถูกความ
ร้อนจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงมาก ๆ และเมื่อปล่อยทิ้งไว้จะเย็นตัวได้รวดเร็วและสามารถจับต้องได้ด้วยมือเปล่า

2. Thermo-Shield มีคุณสมบัติในการคาย
ความร้อนที่ดีโดยอนุภาคเซรามิกส์โบโรซิลิเกต (Ceramic Borosilicate Sphere) สามารถคายความร้อนและเย็นได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 10 วินาที ซึ่งหมายความว่า
อนุภาคเซรามิกส์ที่ความร้อน 1000 C จะถูกคายความร้อนออก โดยใช้เวลาน้อยกว่า 10 วินาที

SOLAR REFLECTIVE OVER 96% JIS R 3106
TESTING DONE BY KENZAI SHIKEN CENTER, BUILDING MATERIALS EXAM CENTER, TOKYO, JAPAN, IN 1996.
อาคารที่ไม่ติดตั้ง THERMO-SHIELD
อาคารที่ติดตั้ง THERMO-SHIELD
  อนุภาคเซรามิกส์ คือ อะไร ?
อนุภาคเซรามิกส์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสีเคลือบเพื่อสะท้อนความร้อน Thermo-Shield Ceramic Coating คือ โซเดียมโบโรซิลิเกตบริสุทธิ์ (Pure Sodium Borosilicate) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง น้อยกว่า 100 ไมครอน ซึ่งมีลักษณะเรียงตัวกันเป็นเซลล์ปิดทำหน้าที่เป็นฉนวนสะท้อนความร้อนที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ ส่วนประกอบที่เป็นน้ำจะระเหยออกจากสี Thermo-Shield (ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย)โดยจะเหลือส่วนประกอบที่เป็นสารอะครีลิค อิมัลชั่น (Acrylic Emulsion) และทำให้อนุภาคเซรามิกส์เหล่านี้เรียงตัวกันชิดจนเป็นเนื้อเดียวกัน ทำหน้าที่ในการสะท้อนความร้อนออกไป
อนุภาคเซรามิกส์มีคุณสมบัติที่เป็นตัวนำความร้อนที่เลว จึงทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง และดีกว่าวัสดุที่นำมาทำเป็นฉนวนกันความร้อนประเภทอื่น ๆ อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ สีฉนวนกันความร้อน Thermo-Shield จึงมีคุณสมบัติในการกระจายความร้อนได้ดี สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนออก ไปได้อย่างมาก ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารผ่านทางหลังคาและผนังอาคารได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้สีฉนวนสะท้อนความร้อนยังมีคุณสมบัติในการป้องกันการยืดและหดตัวของหลังคาและผนังอาคาร ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาการแตกร้าว, ปัญหาการแตกลายงาและปัญหา การรั่วซึมจึงทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาและช่วยประหยัดพลังงาน
องค์ประกอบของระบบสีฉนวนกันความร้อน
     อะครีลิค อีลาสโตเมอริค เรซิน (Acrylic Elastomeric Resins)
     อิมัลชั่น บิวทูเมนเหลว (Emulsion Liquid Bitumen)
     อีลาสโตเมอริค โพลิเมอร์ (Elastomeric Polymer)
     อนุภาคเซรามิกส์โบโรซิลิเกต (Ceramic Borosilicate Sphere)
     ผงไททาเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
     น้ำ (ใช้เป็นตัวทำละลาย ; Waterbase)
     ผงสี (pigment)
ระบบของสี Thermo-Shield
(สีขาว ; White Pigments)
            ประกอบด้วยผงไททาเนียม-ไดออกไซด์ (Titanium-Dioxide) และอลูมินัม-ไตรไฮเดรต (Aluminum-Trihydrate)ซึ่งเป็นสารที่มีเสถียรภาพ และความทนทานสูงจึงสามารถต้านทานต่อสภาพอากาศและมลภาวะได้อย่างดี
อะครีลิค อีลาสโตเมอริค เรซิน ( Acrylic Elastomeric Resins) มีคุณสมบัติ คือ
            - มีความยืดหยุ่นสูง เมื่อเคลือบบนพื้นผิวของหลังคาและผนัง จะช่วยลดปัญหารอยแตกร้าว แตกลายงา และป้องกันไม่ให้เกิดการแตกร้าว ขึ้นมาใหม่
            - เมื่อเคลือบจะครอบคลุมทุกซอกทุกมุมของพื้นผิวไร้รอยต่อ ช่วยป้องกันการรั่วซึมของน้ำและความชื้น
            - ช่วยป้องกันรังสี UV, VIS และ NIR และมลภาวะต่าง ๆ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
            - มีคุณสมบัติพิเศษในการต้านทานการซึมผ่านของน้ำและคุณสมบัติในการส่งผ่านและคายความชื้นออกเมื่อสภาพอากาศชื้นโพลิเมอร์จะพองตัวขึ้นและดันตัวกันอย่างแน่นหนา ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านได้ เมื่ออากาศแห้งโพลิเมอร์จะหดตัวลงและเกิดช่องว่าง ทำให้ความชื้นสามารถถ่ายเทออกสู่อากาศภายนอกได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์อื่น จะทำหน้าที่กันซึมตลอดเวลาทุกสภาพอากาศ ทำให้ความชื้นถูกกักเก็บไว้ใต้วัสดุกันซึม และเมื่อถูกความร้อนจะขยายตัวเป็นไอน้ำทำให้เกิดการพองตัวและเกิดฟองอากาศเป็นสาเหตุทำให้พื้นผิวของหลังคาและผนังอาคารเกิดการแตกร้าวและเสียหายได้

ระบบสะท้อนความร้อน
(Thermo-Shield Ceramic Coating)
          ระบบสะท้อนความร้อน Thermo-Shield มีส่วนประกอบพิเศษของผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาค
เซรามิกส์โบโรซิลิเกต (Ceramic BorosilicateSphere) โดยเป็นอนุภาคทรงกลมภายในกลวง (เป็น
สูญญากาศ 60%) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับแผ่นกระเบื้องเซรามิกส์ที่องค์การอวกาศนาซ่า (NASA) ใช้เป็นฉนวนสะท้อนความร้อน (จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์)ของกระสวยอวกาศ
           คุณลักษณะเฉพาะของฉนวนกันความร้อน คือเป็นสีอะครีลิคสูตรน้ำที่สามารถใช้กลิ้ง พ่น หรือทาบนพื้นผิวของหลังคาได้ทุกขนาดและทุกรูปทรง ซึ่งทำให้พื้นผิวราบเรียบไร้รอยต่อและรอยตะเข็บ ระบบป้องกันความร้อนจะช่วยสะท้อนความร้อนและแผ่รังสีกลับสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้ปริมาณความร้อนที่พื้นผิวของหลังคาลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

คุณสมบัติในการให้น้ำซึมผ่านจะผันแปรตามสภาพอากาศ
       
โพลิเมอร์ที่เป็นส่วนประกอบของฉนวนกันความร้อนจะขยายตัวเมื่อสภาพอากาศมีความเปียกชื้นสูง ทำ
ให้น้ำและความชื้นซึมผ่านได้ยาก ช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้ามถ้าสภาพ
อากาศร้อนและแห้งจะเกิดการหดตัวทำให้ความชื้นที่ถูกกักอยู่ภายในสามารถระเหยไปในชั้นบรรยากาศ
ได้ง่าย (Water Transmission)




     Thermo-Shield มีส่วนผสมของสารอะครีลิค
อิมัลชั่นที่มีความยืดหยุ่น สูงกับอนุภาคเซรามิกส์ ที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อน ซึ่งผลิตขึ้นจากสารสังเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจึงมีความทนทานเป็นพิเศษยืดหยุ่นตัว และไม่เกิดการแตกร้าวได้ง่าย

คุณสมบัติของสี Themo-Shield

          1. สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้ทุกชนิด เช่น เหล็ก
คอนกรีต อะลูมิเนียม ฯลฯ
          2. ป้องกันการรั่วซึมของน้ำและต้านทานการขังน้ำ
ได้เป็นอย่างดี
          3. อายุการใช้งานยาวนานทนทานต่อรังสี UV , VIS
และ NIR
          4. ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของหลังคา เนื่องจาก
การยืดและหดตัวของความร้อน (Thermal Shock)
          5. มีค่า Thermal Resistance Value = 3.874 m2°k/w
          6. ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายของระบบปรับ
อากาศ
          7. เป็นวัสดุกันซึมไร้รอยต่อและมีความยืดหยุ่นตัวสูง
          8. ทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ
          9. ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ
         10. ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนการบำรุงรักษา
         11. ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์มีลักษณะ
เป็นสีอะครีลิคสูตรน้ำจึงปราศจากสารพิษ ไม่ว่าจะอยู่ใน
สถานะที่เป็นของเหลวหรือแห้งเป็นชั้นฟิล์ม โดยการทด
สอบในห้องทดลองพบว่า ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ไม่

 

        12. สีไม่ซีดจาง เพราะใช้กรรมวิธีในการผสมสี
ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง จากการทดสอบตามมาตรฐาน
ในประเทศญี่ปุ่น (JIS) พบว่า ผลิตภัณฑ์สี Thermo-Shield
มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาวะอากาศและรังสี UV สีจึงไม่ซีด จาง
       13. อายุการใช้งาน ยาวนานมากกว่า 10 ปี โดยสีฉนวน กันความร้อนจะไม่หลุดล่อน ไม่แตกร้าว ไม่บวม ไม่พอง ไม่แตกลายงา และป้องกันการรั่วซึมได้เป็นเวลานาน
       14. ทนทานต่อสารเคมีกรดและด่าง จากผลการทดสอบพบว่าสามารถทนทานต่อสารเคมีที่มีความเป็นกรด และด่างสูงมากมายหลายชนิด เช่น กรดแบตเตอรี่ , กรดซัลฟลูริก , สารโซเดียมคลอไรด์ ฯลฯ


ชมสินค้า
http://www.thermoshieldthailand.com